วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วิชาศิลปะ

จิตรกรที่สร้างผลงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม





Alena Hennessy

เธอเป็นจิตรกรและผู้ออกแบบสาวชาวอเมริกัน เธอรักที่จะสร้างแรงบันดาลใจจากภาพวาดที่สื่อถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติต่างๆ ผลงานของเธอนั้นได้รับการแสดงและขายในแกลเลอรี่เป็นจำนวนมาก เธอนั้นได้เขียนหนังสือขึ้นมาหลายเล่ม และหนึ่งในนั้นก็คือ “Cultivating Your Creative Life”และ “The Painting Workbook” ซึ่งข้างในนั้นได้รวบรวมผลงานศิลปะของเธอเอาไว้มากมาย เธอนั้นได้เดินทางไปทั่วประเทศและต่างประเทศเพื่อที่จะสอนเกี่ยวกับการลงสีต่างๆอีกด้วย

ตัวอย่างผลงาน













Diane Burko

ปรากกฎการณ์ทางธรรมชาติต่างๆนั้น ได้เป็นแรงบันดาลใจให้เธอในการวาดรูปเพื่อสะท้อนให้ผู้หนตระหนักถึงภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น ถ้าเกิดทุกคนยังไม่เริ่มที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติ ตั้งแต่ปี2006 เธอก็ได้ทำงานศิลปะที่ควบคู่กับวิทยาศาสตร์ เธอได้อุทิศเวลาของเธอในการสังเกตการณ์ธรรมชาติและสื่อมันออกมาทางภาพวาดของเธอ และในปี2014นี้นั้นเธอจะเดินทางที่กรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของทีมสำรวจเพื่อการศึกษาเกี่ยวกับการละลายของน้ำแข็งทางตอนใต้

ตัวอย่างผลงาน












Claude Monet

โกลด มอแน หรือ อ็อสการ์-โกลด มอแน เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์ และเป็นจิตรกรคนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง 20 มีความสำคัญในการเป็นผู้ริเริ่มศิลปะอิมเพรสชันนิสม์และมีบทบาทสำคัญในปรัชญาและการปฏิบัติของขบวนการนี้ ซึ่งเป็นการวาดภาพจากความประทับใจในสิ่งที่เห็นของผู้วาดแทนที่จะพยายามทำให้เหมือนจริงตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในจิตรกรรมภูมิทัศน์ (Landscape painting)  คำว่า “Impressionism” มาจากชื่อภาพเขียนของมอแนเองชื่อ “Impression, Sunrise” (ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น) ภาพของมอแนนั้นเกือบทั้งหมดจะเป็นภาพที่เกี่ยวกับธรรมชาติ และสื่อถึงความประทับใจของเขาโดยถ่ายทอดออกมาทางรูปภาพ ถึงจะไม่ได้เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติโดยตรงแต่สิ่งที่เขาต้องการจะสื่อนั้นก็เป็นนัยว่าอยากให้คนที่เห็นภาพที่เขาวาดขึ้นมานั้นได้เห็นธรรมชาติที่งดงามเหมือนที่เขาได้เห็น และรักษามันให้สวยงามคงเดิมอย่างนั้นต่อไป

ตัวอย่างผลงาน












วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาท้องถิ่น

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ.251เป็นต้นมาและถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก,ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศและสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม
"
แผนภาพแสดงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่่น

1. เครื่องมือประมงพื้นบ้าน ประกอบด้วย
            1.1 อวนกลุ่มปลาทราย เจ้าของภูมิปัญญา คือ นางสุนีย์ อบรม การมัดอวนนี้ได้เรียนรู้มาจากบิดา มารดา และได้ศึกษาเพิ่มเติม
            1.2 ลอบหมึก เจ้าของภูมิปัญญา คือ นางถนอมศรี ภู่สกุล การทำลอบหมึกเกิดจากการศึกษาด้วยตนเอง โดยการไปศึกษาดูงานที่จังหวัดชุมพร และทดลองทำด้วยตนเอง ปัจจุบันมีเด็กนักเรียนในชุมชนมาเรียนรู้การทำลอบหมึกที่บ้าน และมีการสอนที่ศูนย์การเรียนรู้ที่พัฒนาชุมชนกำพวน
            1.3 หวะรุนกุ้งเคย เจ้าของภูมิปัญญา คือ นายมาอีน สวนสัน โดยเริ่มทำหวะรุนกุ้งเคย ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2524  ได้สืบทอดมาจากบิดามีการจับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – ตุลาคมของทุกปี  แต่ละครั้งจะจับได้ประมาณ 30 – 40 กิโลกรัม  ซึ่งการรุนกุ้งเคยในแต่ละครั้งต้องลงไปในทะเล ประมาณ 1 – 50 เมตร จากชายฝั่ง
2. เครื่องมือ เครื่องใช้พื้นบ้าน ประกอบด้วย
            2.1 การฉลุไม้  เจ้าของภูมิปัญญา คือ นายสะและ สะอาด ได้ศึกษาและเรียนรู้จากปู่และญาติ เริ่มทำตั้งแต่ พ.ศ.2529 จนถึงปัจจุบันโดยลวดลายที่ฉลุยังคงเป็นแบบดั้งเดิม สำหรับไม้ที่ใช้ฉลุ จะเป็นไม้เนื้ออ่อน
            2.2 ไม้กวาดดอกอ้อ  เจ้าของภูมิปัญญา คือ นายวารินทร์  ศิริโสภา เริ่มทำเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยเริ่มจากการทดลองทำด้วยตนเอง ลองผิดลองถูก จนได้ไม้กวาดที่มีความคงทนเหมาะกับการใช้งาน วัตถุดิบส่วนใหญ่จะใช้วัสดุในท้องถิ่น
3. เกษตรแบบผสมผสาน เจ้าของภูมิปัญญา คือ นายสมุทร กำพวน ได้เริ่มทดลองทำการเกษตรแบบผสมผสาน เมื่อปี พ.ศ.2544 โดยมีน้ำสำหรับการเกษตร และใช้ในครัวเรือนจากประปาภูเขา คือ น้ำตกโตนกลอย  ซึ่งจะมีน้ำใช้ได้ตลอดทั้งปี สำหรับในพื้นที่ทดลองมีการทำเกษตรหลายชนิด ประกอบด้วย
            1. ในช่วงแรกเริ่มทดทองปลูกไม้ผล ได้แก่ มังคุด หมาก ลองกอง และปาล์ม ในแปลงเดียวกัน จากการทดลองปลูกพบว่า ซึ่งรากของหมากจะช่วยดูดซับน้ำได้ เพื่อใช้ในหน้าแล้ง ระยะปลูกของหมากในแปลง คือ 8 x 4  เมตร
            2. บ่อเลี้ยงปลาดุก จะใช้บ่อดิน กว้าง 5 เมตร ยาว 8 เมตร ลึก 2 เมตร ปล่อยพันธุ์ปลาประมาณ 500 ตัว ช่วงแรกจะให้อาหารเม็ดสำเร็จรูป หลังจากปลาอายุได้ประมาณ 2 เดือน ก็ให้อาหารเม็ด และ อาหารสด เช่นปลาขนาดเล็ก มีอายุการเลี้ยงประมาณ 4 เดือน
            3. ปลูกพืชผักสวนครัว ได้แก่ พริก ข่า ตะไคร้ มะกรูด มะนาว กระเพรา โหระพา และมะละกอ เพื่อใช้ในการประกอบอาหาร โดยใช้พื้นที่บริเวณหลังบ้าน
            4. การเลี้ยงผึ้ง เพื่อที่จะให้ผสมเกสร ไม้ผลต่างๆ โดยมีรังผึ้งจำนวน 2 รัง บริเวณสวนผลไม้ เป็นผึ้งที่อยู่ตามธรรมชาติ  โดยผึ้งจะมาทำรังปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งแต่ละปีจะได้น้ำหวานจากผึ้ง ประมาณ 20 ขวด
4. สมุนไพรพื้นบ้าน เจ้าของภูมิปัญญา คือ นางเอส้า เจมูสอ ได้รับการสืบทอดมาจากบิดาโดยได้เริ่มทำขี้ผึ้งสมุนไพรลูกประคบ เมื่อ ปี พ.ศ. 2547 ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้รับการสนับสนุนจากส่วนราชการให้จัดตั้งเป็นกลุ่มแปรรูปขี้ผึ้งสมุนไพรลูกประคบ   มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดเส้น เคล็ด ขัดยอก และช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต
5. การนวดแผนไทย เจ้าของภูมิปัญญา คือ นางเอส้า เจมูสอ ได้รับการสืบทอดมาจากบิดา สำหรับช่วงแรกที่ได้ทำการการนวดจะใช้สมุนไพรจากน้ำมันมะพร้าว ต่อมาปี พ.ศ.2547 ก็มาเปลี่ยนมาใช้ขี้ผึ้งสมุนไพรลูกประคบแทน การนวดแผนไทย สรรพคุณในการช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย และรักษาอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ
6. การละเล่นพื้นบ้าน ได้แก่ การแสดงมโนราห์ เจ้าของภูมิปัญญา คือ นายชม นิ่มกาญจนา โดยนายชม หรือมโนราห์ชม ได้เรียนรู้การรำมโนราห์ จากครูมโนราห์ คือ ครูรื่น จิตรอับษร ตั้งแต่อายุ  9 ขวบ แสดงมโนราห์ครั้งแรกที่ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ตั้งแต่อายุ  11 ขวบ และได้เปิดการแสดงทั่วภาคใต้ ยกเว้น 3 จังหวัดชายแดน ใช้ชื่อว่า “คณะเลื่อนน้อย”  ต่อมาใน ปีพ.ศ.  2515  ได้จัดตั้งคณะมโนราห์ขึ้นเอง ใช้ชื่อว่า “คณะมานะศิลป์”  ในปีพ.ศ. 2516 ได้ย้ายมาอยู่ อ.เมือง จ.กระบี่  ในปี พ.ศ.2533 ได้ย้ายมาสร้างบ้านหลังปัจจุบัน และ ปี พ.ศ. 2548 ได้รับโล่เกียรติคุณ  “ภูมิปัญญาท้องถิ่นดีเด่นปี 2548”   จากสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
การทำลอบหมึก : หวายแดง
นางถนอมศรี   ภู่สกุล
การฉลุไม้ : ไม้จำปา หรือไม้เนื้ออ่อน                
นายสะและ   สะอาด      
  
  

ไม้กวาดดอกอ้อ :  ดอกอ้อ
นายวารินทร์   ศิริโสภา
เกษตรผสมผสาน : มังคุด หมาก
ลองกอง และปาล์มน้ำมัน 
นายสมุทร   กำพวน
 
                ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการพัฒนาในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองกำพวน ดังกล่าวข้างต้น  จะเห็นได้ว่ามีภูมิปัญญาท้องถิ่นหลายประการที่สามารถพัฒนาต่อยอดได้ โดยเฉพาะภูมิปัญญาที่มีการใช้วัตถุดิบหลักที่มีในท้องถิ่น  อย่างไรก็ตามก็ยังมีภูมิปัญญาอีกหลายประการที่พบว่า ไม่สามารถนำมาพัฒนาต่อได้ โดยเฉพาะภูมิปัญญาด้านการละเล่น และการแสดงพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณะเฉพาะถิ่น แต่ทั้งนี้ก็ยังทรงคุณค่าทางด้านจิตใจ ดังนั้นจึงควรอนุรักษ์และสืบทอดให้แก่คนรุ่นหลัง ตลอดจนเผยแพร่สู่บุคคลทั่วไปให้เป็นที่รู้จักต่อไป

ประเภทของสหกรณ์

1.  สหกรณ์ในประเทศไทยมีกี่ประเภทและแต่ละมีวัตถุประสงค์สำคัญอย่างไร
มี 7 ประเภท ได้แก่
1. สหกรณ์การเกษตร
วัตถุประสงค์ของสหกรณ์การเกษตร   
          สหกรณ์การเกษตรดำเนินธุรกิจแบบอเนกประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกดำเนินธุรกิจร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือส่วนรวม โดยใช้หลักคุณธรรมและจริยธรรมอันดีงามตามพื้นฐานของมนุษย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกและส่วนรวม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์
            2. สหกรณ์ประมง
วัตถุประสงค์ของสหกรณ์ประมง
1. รวบรวมสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจากสมาชิกมาจัดการขายหรือแปรรูปออกขายเพื่อให้ได้ราคาดี
2. จัดหาวัสดุสิ่งของ รวมทั้งบริการที่ใช้ในการประมง และสิ่งของจำเป็นอื่น ๆ ที่สมาชิกต้องการมาจำหน่าย 
             3. ให้เงินกู้แก่สมาชิก
             4. รับฝากเงินจากสมาชิก
             5. เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและธุรกิจเกี่ยวกับการประมง
             6. ให้การสงเคราะห์ตามควรแก่สมาชิกและครอบครัวที่ประสบภัยพิบัติในการประกอบอาชีพ
3. สหกรณ์นิคม
วัตถุประสงค์ของสหกรณ์นิคม
สหกรณ์ภาคการเกษตรในรูปแบบหนึ่งที่มีการดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้ราษฎร การจัดสร้างปัจจัยพื้นที่ฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ที่อยู่อาศัยควบคู่ไปกับการเกษตร การส่งเสริมอาชีพ รวมทั้งกิจกรรมให้บริการสาธารณูปโภคแก่สมาชิก ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า สหกรณ์นิคม มีงานหลัก งาน คือ 
               1. งานจัดที่ดิน
               2. งานจัดสหกรณ์
4. สหกรณ์ออมทรัพย์
วัตถุประสงค์ของสหกรณ์ออมทรัพย์
สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นสถาบันการเงินที่ส่งเสริมให้บุคคลที่เป็นสมาชิกรู้จักการประหยัด รู้จักการออมทรัพย์และสามารถบริการเงินกู้ ให้แก่สมาชิกเพื่อนำไปใช้จ่ายเมื่อเกิดความจำเป็น โดยยึดหลักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จึงเป็นการร่วมกันแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมอีกทางหนึ่ง ดังนี้
       1.  การส่งเสริมการออมทรัพย์ เป็นวัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์ออมทรัพย์ แบ่งออกเป็น วิธี คือ
               1.1  การส่งเสริมสหกรณ์ออมทรัพย์โดยการถือหุ้น สหกรณ์กำหนดให้สมาชิกส่งชำระค่าหุ้นเป็นประจำทุกเดือน โดนการหักเงินค่าหุ้น ณ ที่จ่ายเงินเดือนและจ่ายเงินปันผลค่าหุ้นให้แก่สมาชิกตามอัตราที่พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 กำหนดไว้ เงินปันผลที่ได้รับนี้ไม่ต้องเสียภาษีให้แก่รัฐ และเมื่อสมาชิกลาออกจากสหกรณ์ก็สามารถถอนค่าหุ้นคืนได้
               1.2  การส่งเสริมสหกรณ์ออมทรัพย์โดยการรับฝากเงิน สหกรณ์มีบริการด้านเงินฝากทั้งประเภทเงินฝากประจำและเงินฝากออมทรัพย์ และให้ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยในอัตราเดียวกับธนาคารพาณิชย์ หรือสูงกว่าตามฐานะของแต่ละสหกรณ์
       2.  การให้เงินกู้แก่สมาชิกสหกรณ์จะนำเงินค่าหุ้นและเงินฝากของสมาชิกมาหมุนเวียนให้สมาชิกที่มีความจำเป็นหรือเดือดร้อนกู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าเอกชน
5.  สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
วัตถุประสงค์ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ.2548 กำหนดว่าสมาชิกสหกรณ์อาจประกอบด้วยบุคคลทุกสาขาอาชีพ ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือประกอบอาชีพหลักหรือมีวงสัมพันธ์อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่ในเขตท้องที่ดำเนินงานของสหกรณ์ที่จะจัดตั้ง โดยให้กำหนดคุณสมบัติไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์” เพื่อให้เกิดความชัดเจน จึงกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับท้องที่ดำเนินงานและกรอบคุณสมบัติสมาชิก สำหรับสหกรณ์ที่ได้รับจดทะเบียนไว้แล้วหรือขอจดทะเบียนสหกรณ์ใหม่ในระดับปฐมภูมิ
6. สหกรณ์ร้านค้า
วัตถุประสงค์ของสหกรณ์ร้านค้า
ร้านสหกรณ์ คือ สหกรณ์ที่ผู้บริโภครวมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค และรวบรวมผลิตผลผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายแก่สมาชิกและส่งเสริมความเป็นอยู่ของสมาชิกให้ดีขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ร้านสหกรณ์โดยทั่วไปจึงมักกำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานไว้ดังต่อไปนี้
1. จัดหาสิ่งของและบริการที่สมาชิกมีความต้องการมาจำหน่าย
2. รวบรวมผลิตผล ผลิตภัณฑ์ของสมาชิกมาจำหน่าย
3. ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ทางสหกรณ์ให้แก่สมาชิก
4. ส่งเสริมสมาชิกให้รู้จักการประหยัด การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการช่วยตนเอง
5. ร่วมมือกับสหกรณ์และสถาบันอื่นทั้งภายในและภายนอกประเทศในอันที่จะเกื้อกุลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
6.  ดำเนินธุรกิจอย่างอื่นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้างต้น
7.  สหกรณ์บริการ
วัตถุประสงค์ของสหกรณ์บริการ
สหกรณ์บริการมีหลายรูปแบบให้พิจารณา จึงขอสรุปวัตถุประสงค์อย่างกว้าง ๆ ดังนี้
1.  ประกอบธุรกิจด้านการบริการที่ระบุไว้ตามรูปแบบของสหกรณ์
2.  จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ ตลอดจนเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นมาบริการแก่สมาชิกในราคายุติธรรม
3.  รับฝากเงินจากสมาชิกเพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์
4.  ให้เงินกู้ในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ หรือจำเป็นแก่สมาชิก
5.  รวบรวมผลิตภัณฑ์จากสมาชิก โดยจัดหาตลาดจำหน่ายให้
6.  ช่วยเหลือสมาชิกด้านกฎหมายคดีความ
7.  ส่งเสริมสวัสดิภาพของสมาชิกและครอบครัว
8.  ส่งเสริมการช่วยตนเองและการร่วมมือกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิก
9.  ให้การศึกษาอบรมแก่สมาชิกเพื่อให้มีความรู้ทางสหกรณ์ และความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ
10. ร่วมมือกับสหกรณ์อื่นและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อกิจการความก้าวหน้าของสหกรณ์

2.  ธุรกิจสหกรณ์มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากระบบธุรกิจอื่นๆ อย่างไร
1.รวมกันเป็นสหกรณ์  ทำให้มีผลในการต่อรอง  ทั้งการซื้อและขายสินค้าที่สมาชิกผลิตได้
             2.ทำให้ชุมชนมีความสามัคคี ปรองดอง
             3.สหกรณ์เป็นแหล่งจัดหาเงินมาให้สมาชิกกู้ยืมเงินไปลงทุนในการประกอบอาชีพ
             4. สหกรณ์ช่วงส่งเสริมความรู้การเกษตรแก่สมาชิกให้ขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น
             5.ส่งเสริมความเสมอภาคกัน
             6.สหกรณ์ฝึกคนให้มีความรู้  ประสบการณ์  สนับสนุนด้านเงินทุนให้เป็นไปตามแผน

วิชาการงานอาชีพเเละเทคโนโลยี



ความหมายของบรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ หมายถึงศาสตร์และศิลป์ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อการคุ้มครองปกป้องสินค้าจากผู้ผลิตจนถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยด้วยต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม
 จากความหมายพอสรุปได้ว่าบรรจุภัณฑ์นั้นหมายถึ เรื่องของ  วิทยาศาสตร์ และเรื่องของศิลปะที่ใช้เพื่อการบรรจุสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและทำให้เกิดความเสียหายกับสิ่งแวดล้อม และบรรจุภัณฑ์นั้นจะต้องปกป้องตัวสินค้าให้อยู่ในสภาพที่ดีจากแหล่งผลิตจนถึงมือลูกค้าโดยไม่ให้ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้บรรจุภัณฑ์นั้น ๆ จะต้องมีต้นทุนของการผลิตที่ไม่สูงจนเกินไป


ความสำคัญของการบรรจุภัณฑ์
                      ในโลกนี้มีสินค้ามีผลิตผลในหลายๆด้าน เช่น ด้านการเกษตรกรรม ด้านการประมง และอีกมากมายมากมาย    สิ่งที่กล่าวมานี้อาจได้รับความเสียหายมากเนื่องจากการขนส่งที่ไม่เหมาะสมมีส่วนที่จะช่วยเพิ่มความเสียหายกับผลผลิตได้ซึ่ง จะเห็นได้ว่าการบรรจุภัณฑ์นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อผลผลิต   ทั้งหลายซึ่งสามารถสรุปเป็นรายละเอียดเป็นข้อ ๆ ได้ ดังนี้
                      1. รักษาคุณภาพ และปกป้องตัวสินค้า  เริ่มตั้งแต่การขนส่ง การเก็บให้  ผลผลิตหเหล่านั้นไม่ให้เสียหายจากการปนเปื้อนจากสิ่งต่างๆที่ไมพึงประสงค์
                      2. ให้ความสะดวกในเรื่องการขนส่ง การจัดเก็บมีความรวดเร็วในการ   ขนส่ง เพราะสามารถรวมหน่วยของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเป็นหน่วยเดียวได้ เช่น ผลไม้หลายผลนำลงบรรจุในลังเดียว  หรือเครื่องดื่มที่เป็นของเหลวสามารถบรรจุลงในกระป๋องหรือขวดได้  เป็นต้น
                      3. ส่งเสริมทางด้านการตลาด บรรจุภัณฑ์เพื่อการจัดจำหน่ายเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริโภคเห็น ดังนั้นบรรจุภัณฑ์จะต้องจะทำหน้าที่บอกกล่าวสิ่งต่างๆของตัวผลิตภัณฑ์โดยการบอกข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดของตัวสินค้า    และนอกจากนั้นจะต้องมีรูปลักษณ์ที่สวยงามสะดุดตาเชิญชวนให้เกิดการตัดสินใจซื้อ    ซึ่งการทำหน้าที่ดังกล่าวของ      บรรจุภัณฑ์  นั้นเป็นเสมือนพนักงานขายที่ไร้เสียง


ตัวอย่างบรรจุพรรณ
บรรจุภัณฑ์นี้เป็นบรรจุภัณฑ์นี้ไว้ใส่เส้นพาสตาร์ซึ่งผู้คิดได้คิดว่าถ้ามีช่องใสๆไว้ดูว่าเป็นเส้นแบบไหนที่ผู้บริโภคต้องการ








 บรรจุภัณฑ์นี้นี้เป็นบรรจุภัณฑ์นี้ที่ไว้ใส่เนยถ้าสังเกตุดีๆจะเห็นได้ว่าฝาของกล่องเนยนั้นสามารถทำเป็น
มีดทาขนมปังได้อีกด้วย











ธัญญมาส หวังสันติ  เลขที่ 7
ณัฐสินี เลาหภักดี เลขที่13
สิตา รัฎธนาโชค เลขที่ 19
รมย์นลิน นิธิสหกุล เลขที่29
วิชญาพร ทองเชียว เลขที่32
รัศมพรรณ  ปัญโญ  เลขที่ 33
ธนิสรา  วรกฤษณา  เลขที่44

วิชาภาษาอังกฤษ

LIFE CHANGE



"Going green" doesn't have to be a daunting task that means sweeping life changes. Simple things can make a difference.The contents of this list might not be new, but they bear repeating. Sometimes it takes a few reminders for things take root.



1. CHANGE YOUR LIGHT
If every household in the United State replaced one regular light bulb with one of those new compact fluorescent bulbs, the pollution reduction would be equivalent to removing one million cars from the road.




2. TURN OFF COMPUTERS AT NIGHT
By turning off your computer instead of leaving it in sleep mode, you can save 40 watt-hours per day. That adds up to 4 cents a day, or $14 per year. If you don't want to wait for your computer to start up, set it to turn on automatically a few minutes before you get to work.



3. RECYCLE GLASS
Recycled glass reduces related air pollution by 20 percent and related water pollution by 50 percent.     If it isn't recycled it can take a million years to decompose.



4. HANG DRY.
Get a clothesline or rack to dry your clothes by the air. Your wardrobe will maintain color and fit, and you'll save money.



5. USE BOTH SIDES OF PAPER
American businesses throw away 21 million tons of paper every year. For a quick and easy way to halve this, set your printer's default option to print double-sided (duplex printing). And when you're finished with your documents, don't forget to take them to the recycling bin.




6. RECYCLE NEWSPAPER
There are 63 million newspapers printed each day in the U.S. Of these, 44 million, or about 69%, of them will be thrown away. Recycling just the Sunday papers would save more than half a million trees every week.







7. RETHINK BOTTLED WATER
Nearly 90% of plastic water bottles are not recycled, instead taking thousands of years to decompose. Buy a reusable container and fill it with tap water, a great choice for the environment, your wallet, and possibly your health. The EPA's standards for tap water are more stringent than the FDA's standards for bottled water.





8. BAN BATH TIME!
Have a no-bath week, and take showers instead. Baths require almost twice as much water. Not only will you reduce water consumption, but the energy costs associated with heating the water.




9. TAKE A SHORTER SHOWER
Every two minutes you save on your shower can conserve more than ten gallons of water. If everyone in the country saved just one gallon from their daily shower, over the course of the year it would equal twice the amount of freshwater withdrawn from the Great Lakes every day.



10. PLANT A TREE
It's good for the air, the land, can shade your house and save on cooling (plant on the west side of your home), and they can also improve the value of your property.



11. ADJUST YOUR THERMOSTAT
Adjust your thermostat one degree higher in the summer and one degree cooler in the winter. Each degree Celsius less will save about 10% on your energy use! In addition, invest in a programmable thermostat which allows you to regulate temperature based on the times you are at home or away.


12. TURN OFF LIGHTS
Always turn off incandescent bulbs when you leave a room. Fluorescent bulbs are more affected by the number of times it is switched on and off, so turn them off when you leave a room for 15 minutes or more. You'll save energy on the bulb itself, but also on cooling costs, as lights contribute heat to a room.




13. GO TO A CAR WASH
Professional car washes are often more efficient with water consumption. If everyone in the U.S. who washes their car themselves took just one visit to the car wash we could save nearly 8.7 billion gallons of water.



14. PLASTIC BAGS SUCK
Each year the U.S. uses 84 billion plastic bags, a significant portion of the 500 billion used worldwide. They are not biodegradable, and are making their way into our oceans, and subsequently, the food chain. Stronger, reusable bags are an inexpensive and readily available option.

15. RECYCLE OLD CELL PHONES
The average cell phone lasts around 18 months, which means 130 million phones will be retired each year. If they go into landfills, the phones and their batteries introduce toxic substances into our environment. There are plenty of reputable programs where you can recycle your phone, many which benefit noble causes.



16. MAINTAIN YOUR VEHICLE
Not only are you extending the life of your vehicle, but you are creating less pollution and saving gas. A properly maintained vehicle, clean air filters, and inflated tires can greatly improve your vehicle's performance. And it might not hurt to clean out the trunk—all that extra weight could be costing you at the pump.



17. RECYCLE UNWANTED WIRE HANGERS
Wire hangers are generally made of steel, which is often not accepted by some recycling programs. So what do you do with them? Most dry cleaners will accept them back to reuse or recycle. 



18. RECYCLE ALUMINUM AND GLASS
Twenty recycled aluminium cans can be made with the energy it takes to manufacture one brand new one.



วิชาภาษาไทย

การใช้ชีวิตในภาวะโลกร้อนอย่างพอเพียง


ภาวะโลกร้อนในทุกวันนี้เกิดขึ้นเพราะมนุษย์เป็นปัญหาใหญ่ ปัญหาใหญ่ที่มนุษย์พบเจอ ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติหรือมนุษย์ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมกับการที่มนุษย์ตัด และทำลายป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ ในที่สุดสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้หวนกลับมาสู่มนุษย์เองคือ ภาวะโลกร้อน
ในปัจจุบันมนุษย์ทุกคนต้องพบปัญหาสภาวะโลกร้อน ในบ้านเมืองมีมลพิษมากมายเนื่องจากทุกวันนี้ ผู้คน ใช้ถุงพลาสติกกันอย่างแพร่หลายทั้งพ่อค้าแม่ค้า หรือประชาชนทั่วไปโดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมอีกทั้งถุงพลาสติกยังเป็นขยะชนิดหนึ่ง ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ แต่เมื่อมีผู้คนใช้ถุงพลาสติกกันอย่างต่อเนื่องจึงส่งผลให้เกิดสภาวะโลกร้อน เนื่องจากการใช้ถุงพลาสติกส่งผลให้เกิดมลพิษต่อโลก เราควรร่มมือกันใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกแทนถุงพลาสติกพราะการใช้ถุงผ้าสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายครั้ง และยังสามารถนำถุงผ้ามาเพิ่มรายได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้อีกด้วย
เราควรตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรต่างๆอย่างคุ้มค่าเพื่อไม่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา โดยการปรับเปลี่ยนนิสัยของผู้คนบนโลกให้ใช้ถุงผ้าให้เป็นนิสัยจะทำให้โลกของเราน่าอยู่ขึ้น และการเปลี่ยนไปใช้สิ่งที่สามารถย่อยสลายง่ายและไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ช่วยลดมลพิษบนโลกไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ละสัตว์ป่าอีกด้วย

ผู้แต่ง : ..มิรันดา จรูญวุฒิธรรม ./ เลขที่ ๒๘

โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย

การใช้ชีวิตในภาวะโลกร้อนอย่างพอเพียง


                                 ในปัจจุบันภาวะโลกร้อนถือว่าเป็นปัญหาใหญ่และสำคัญสำหรับโลกเรา ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุและเป็นปัญหาที่สะสมมาเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากมนุษย์ใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือยซึ่งเป็นผลกระทบต่อประเทศไทยและทรัพยากรเป็นอย่างมาดโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา ซึ่งตอนนี้ เราสามารถช่วยกันลดภาวะโลกร้อนได้นั้นคือปฏิบัติตนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
            สังคมไทยในปัจจุบันมาจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นในทุกๆวัน แต่ทรัพยากรที่มีอยู่จะไม่พอเพียงกับจำนวนประชากร ถ้าทุกคนยังใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย เพราะสาเหตุหลักๆของภาวะโลกร้อนนั้นเกิดมาจากการกระทำและพฤติกรรมของมนุษย์ล้วนๆ เช่นการใช้โฟม ถุงพลาสติก การใช้เครื่องปรับอากาศและเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างฟุ่มเฟือย การใช้รถยนต์เป็นจำนวนมาก และทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ของการเกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้นเราควรที่จะปฏิบัติตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่บนโลกได้อย่างสะดวกสบาย
            หลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย อยู่อย่างพอกินพอใช้ ใช้เท่าที่จำเป็น ซึ่งหลักเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับเราแล้วยังเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนไปอีกด้วย โดยเราสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันได้เช่น เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น ถ้าไปทางเดียงกันก็ไปด้วยกัน ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก เป็นต้น
            ถ้ามนุษย์ทุกๆคนตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ให้มากขึ้นและทุกๆคนช่วยกันปฏิบัติตนตามสิ่งเหล่านี้โดยการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักก็จะสามารถช่วยโลกให้น่าอยู่สดใส และทุกคนก็จะดำรงชีวิตอยู่บนโลกนี้ได้อย่างมีความสุข

ผู้แต่ง : เด็กหญิงคริชา บุนนาค ม.๓/๔ เลขที่ ๓๑

M